จังหวัดขอนแก่นเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นประตูสู่อินโดจีนและจีนตอนใต้ ตามโครงการพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East – West Economic Corridor) เป็นเมืองศูนย์กลางการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคตามนโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ประกอบกับนโยบายในการกำหนดสินค้าและบริการสู่สากล และนโยบายประสานความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว นอกจากนั้นทางรัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์ให้จังหวัดขอนแก่นเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์เนื่องจากจังหวัดมีศักยภาพเด่นด้านทำเลที่ตั้ง มีความเหมาะสมในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งทางบก ทางอากาศ การขนส่งทางระบบราง และการขนถ่ายสินค้าในภูมิภาคอาเซียน จึงมีศักยภาพสูงในการพัฒนาให้เป็น Logistic Hub ในประชาคมอาเซียนและในอนาคตขอนแก่นจะเป็นศูนย์กลางในการแปรรูปสินค้าเกษตรขนาดใหญ่ อีกทั้งจังหวัดขอนแก่นได้มีนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นแนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟูและป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อชุมชน ซึ่งจังหวัดขอนแก่นมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ 2 แห่ง คือพื้นที่แก่งละว้าและห้วยเสือเต้น นอกจากนี้เพื่อให้ก้าวหน้าทันแนวโน้มและทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต ภายใต้นโยบายของรัฐในการพัฒนายุทธศาสตร์ประเทศ จึงจำเป็นต้องมีผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพระดับจังหวัดในด้านการให้ประโยชน์ที่ดิน การตั้งถิ่นฐานและโครงสร้างพื้นฐานรวมถึงโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีการเหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และบทบาทของจังหวัด พร้อมทั้งกำหนดแนวทางและมาตรการผังเมืองใน การพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินในทรัพย์สิน การคมนาคมและขนส่ง การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม การวางและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดจะทำให้เกิดการกำหนดบทบาทและรูปแบบการพัฒนาจังหวัดในภาพรวม ตลอดจนแนวทางพัฒนาจังหวัดเพื่อเป็นกรอบแนวทางของการทำเป็นงานโครงการพัฒนาในรายละเอียดของการพัฒนาพื้นที่ สำหรับองค์กรส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
กรมโยธาธิการและผังเมือง จึงต้องดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดขอนแก่นให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาดังกล่าว เพื่อให้เป็นผังแม่บททางกายภาพชี้นำการพัฒนาพื้นที่ของจังหวัด การใช้ประโยชน์ที่ดิน การคมนาคมขนส่ง สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ในระดับจังหวัด อำเภอ เมือง และชุมชน ได้อย่าง บูรณาการและสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเสริมสร้างสังคมให้เข้มแข็ง
วัตถุประสงค์
1) ดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดขอนแก่นตามบทบาท ประเด็นยุทธศาสตร์ ศักยภาพ และสถานการณ์การพัฒนาพื้นที่จังหวัด ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
2) จัดทำผังนโยบายการพัฒนาพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และการพัฒนารายสาขา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ในด้านต่าง ๆ พร้อมจัดทำแผนงาน โครงการพัฒนาให้กับจังหวัดอย่างบูรณาการ
3) จัดทำผังเมืองรวมจังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและโครงสร้างพื้นฐาน ให้เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ ตามวิธีการ ขั้นตอน และองค์ประกอบของการวางและจัดทำ
ผังเมืองรวม แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518 และพระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558
4) จัดทำผังพื้นที่ปฏิบัติการ (Action Area Plan) โดยจัดทำผังรายละเอียดโครงการพัฒนาเฉพาะเรื่องที่ต้องการส่งเสริมพัฒนาหรือพื้นที่ที่มีปัญหาเร่งด่วน เพื่อให้สามารถนำผังไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
5) จัดทำผังพัฒนาพื้นที่กลุ่มอำเภอ โดยกำหนดแนวทางและมาตรการการพัฒนาพื้นที่ระดับอำเภอ
เพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ตามหลักวิชาการผังเมือง
เป้าหมายระยะเวลาดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินการโครงการ 420 วัน
โดยไม่นับรวมเวลาที่กรมฯ ให้ความเห็นชอบต่อรายงานฉบับต่าง ๆ ที่ต้องส่งมอบ
ขอบเขตการดำเนินงาน
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา
การวางและจัดทำผังเมืองรวมครอบคลุมพื้นที่เขตการปกครองของจังหวัดขอนแก่น
➡ ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอุดรธานี
➡ ทิศใต้ ติดกับ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดบุรีรัมย์
➡ ทิศตะวันออก ติดกับ จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมหาสารคาม
➡ ทิศตะวันตก ติดกับ จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดเพชรบูรณ์

ขอบเขตการดำเนินงาน
1. ศึกษาและวิเคราะห์ภาพรวมการพัฒนาพื้นที่ เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่และจุดยืนการพัฒนาของจังหวัด (Positioning)
2. ศึกษาและวิเคราะห์ทิศทางการพัฒนาพื้นที่ระดับจังหวัด อำเภอ เมือง และชุมชน
3. บูรณาการผลการวิเคราะห์ข้อมูล
4. กำหนดวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ และเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่
5. จัดทำผังแนวคิดการพัฒนาพื้นที่จังหวัด (Conceptual Plan)
6. จัดทำผังนโยบายการพัฒนาพื้นที่จังหวัด
– ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน
– ด้านการพัฒนาเมืองและระบบเมือง
– ด้านการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ
– ด้านการอนุรักษ์พื้นที่โล่งและสภาพแวดล้อม
– ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรม
– ด้านการวางระบบคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์
– ด้านการพัฒนาสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
– ด้านการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ
– ด้านอื่น ๆ ที่สำคัญตามความเหมาะสม
7.ผังพัฒนาพื้นที่กลุ่มอำเภอ
8.การวางและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัด
การวางและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดเป็นการกำหนดกรอบนโยบายด้านผังเมืองระดับจังหวัดเพื่อส่งเสริมและควบคุมการพัฒนาพื้นที่ระดับจังหวัด ซึ่งจะทำหน้าที่ถ่ายทอดนโยบายจากการวางและจัดทำนโยบายระดับประเทศผังนโยบายระดับภาค ผังนโยบายระดับจังหวัดเพื่อเป็นแนวทางด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน การพัฒนาการตั้งถิ่นฐาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาพื้นที่เมืองและชนบท ประกอบด้วย 8 ขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2562 และมีองค์ประกอบของผังเมืองรวมจังหวัด 6 ประการ มีรายละเอียดดังนี้

9. จัดทำผังพื้นที่ปฏิบัติการ (Action Area Plan)
10. งานด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน
ขั้นตอนและวิธีการศึกษาโครงการ
กระบวนการในการศึกษาการวางและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดขอนแก่นนั้น วัตถุประสงค์ในการใช้เป็นผังแม่บททางกายภาพชี้นำการพัฒนาพื้นที่ของจังหวัดการใช้ประโยชน์ที่ดินการคมนาคมและขนส่งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ในระดับจังหวัด อำเภอ เมือง และชุมชน ได้อย่างบูรณาการ และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเสริมสร้างสังคมให้แข็งแรง ซึ่งมีขั้นตอนโดยสรุป 8 ขั้นตอน
กรมโยธาธิการและผังเมือง จึงต้องดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดขอนแก่นให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาดังกล่าว เพื่อให้เป็นผังแม่บททางกายภาพชี้นำการพัฒนาพื้นที่ของจังหวัด การใช้ประโยชน์ที่ดิน การคมนาคมขนส่ง สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ในระดับจังหวัด อำเภอ เมือง และชุมชน ได้อย่าง บูรณาการและสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเสริมสร้างสังคมให้เข้มแข็ง

ความคืบหน้าโครงการ
1. ระยะเวลาดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินการโครงการ 420 วัน โดยไม่นับรวมเวลาที่กรมฯ ให้ความเห็นชอบต่อรายงานฉบับต่าง ๆ ที่ต้องส่งมอบ
2. แผนการดำเนินการและการส่งมอบงาน
(1) รายงานเบื้องต้น (Inception Report)
(2) รายงานความก้าวหน้า (Progress Report)
(3) รายงานการศึกษาขั้นกลาง (Interim Report)
(4) ร่างรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report)
(5) รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) และรายงานสรุปผู้บริหาร
(Executive Summary Report)
3. ความก้าวหน้าโครงการ
การดำเนินโครงการปัจจุบัน อยู่ในช่วงรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Final Report)